กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ

|

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ มี 2 ฉบับ ดังนี้

1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535

2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่

1. ให้สถานที่สาธารณะต่อไปนี้ ขณะทำการให้หรือใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่ทั้งหมด

– รถยนต์โดยสารประจำทาง

– รถยนต์โดยสารรับจ้าง

– ตู้โดยสารรถไฟที่มีระบบปรับอากาศ

– เรือโดยสาร

– เครื่องบินโดยสารภายในประเทศ

– ที่พักผู้โดยสารเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศและที่พักผู้โดยสารรถไฟฟ้า

– ลิฟต์โดยสาร

– ตู้โทรศัพท์สาธารณะ

– รถรับส่งนักเรียน

– โรงมหรสพ

– ห้องสมุด

– ร้านตัดผม

– ร้านตัดเสื้อ

– สถานเสริมความงาม

– ห้างสรรพสินค้าที่มีระบบปรับอากาศ

– ร้านอินเตอร์เน็ต

– สถานที่ออกกำลังกายเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ

– สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน

– ศาสนสถานเฉพาะบริเวณที่ประกอบศาสนกิจ

– ร้านขายยา

– สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ

– สุขา

– ท่าเทียบเรือสาธารณะ

– สถานที่เล่นกีฬาโบว์ลิ่ง

2. ให้สถานที่สาธารณะต่อไปนี้ ขณะทำการ ให้หรือใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่ เว้นแต่บริเวณห้องพักส่วนตัว หรือห้องทำงานส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงาน

ในสถานที่สาธารณะนั้น

-โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาโดยครอบคลุมพื้นที่ภายในบริเวณรั้วโรงเรียนหรือสถานศึกษาทั้งหมด

– อาคารจัดแสดงศิลปะวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์สถาน หรือหอศิลป์

– สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคือ

– สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน

– สนามกีฬาในร่ม

3. ให้สถานที่สาธารณะต่อไปนี้ ขณะทำการให้หรือใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่เว้นแต่

3.1 บริเวณห้องพักส่วนตัว หรือห้องทำงานส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่สาธารณะนั้น

3.2 บริเวณที่จัดไว้ให้เป็น “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ ต้องมีการระบายอากาศถ่ายเทหมุนเวียนระหว่างภายนอกอาคารและภายในเขตสูบบุหรี่ไม่น้อยกว่า 50 ลูกบาศก์ฟุต/นาที/คน

– อาคารของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถานบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา

– บริเวณแสดงสินค้าหรือนิทรรศการเฉพาะที่มีระบบปรับอากาศ

– สถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

– ธนาคาร และสถาบันการเงิน

– สำนักงานที่มีระบบปรับอากาศ

– อาคารท่าอากาศยาน

4. ตู้โดยสารรถไฟที่ไม่มีระบบปรับอากาศ จะจัดเป็นเขตสูบบุหรี่ได้ ต้องมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนตู้ที่ไม่มีระบบปรับอากาศในขบวนนั้น

โทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน

– ห้ามมิให้ผู้ใดสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

– ผู้ดำเนินการของสถานประกอบการที่กำหนดไว้ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท

พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535

จุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการโฆษณา และส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลให้การบริโภคยาสูบของประชาชนสูงขึ้น เป็นอุปสรรคต่อการป้องกันโรคภัยอันเกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ และการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน

ในพระราชบัญญัตินี้ “ผลิตภัณฑ์ยาสูบ” หมายถึง ผลิตภัณฑ์อื่นใดที่มีส่วนประกอบของใบยาสูบหรือพืช นิโคเชียนาทาแบกกุ้ม (NICOTIANATABACUM) ไม่ว่าจะใช้เสพโดยวิธีสูบ ดูด ดม อม เคี้ยว กิน เป่า หรือพ่นเข้าไปในปาก หรือจมูกหรือโดยวิธีอื่นใดเพื่อให้ได้ผลเป็นเช่นเดียวกัน

สาระสำคัญพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535

ห้าม ขาย แลกเปลี่ยน ให้บุหรี่แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี โทษฝ่าฝืน จำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ห้าม ขายโดยใช้เครื่องขาย โทษฝ่าฝืน จำคุก 1 เดือน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ห้าม

1) ขายสินค้าให้บริการ โดย แจก, แถม, ให้, แลกเปลี่ยนกับบุหรี่

2) ขายบุหรี่ โดย แจก, แถม, ให้, แลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น/บริการ เป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อบุหรี่ หรือผู้นำหีบห่อมาแลกเปลี่ยน/แลกซื้อ

3) ให้/เสนอให้สิทธิ์ในการเข้าชมการแข่งขัน, การแสดง, การให้บริการ เป็นการตอบแทนแก่ผู้ซื้อบุหรี่ หรือผู้นำหีบห่อบุหรี่มาแลกเปลี่ยน/แลกซื้อ โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ห้าม แจก บุหรี่เป็นตัวอย่าง/เพื่อให้แพร่หลาย (ยกเว้นการให้ตามประเพณีนิยม) โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ห้าม โฆษณา หรือแสดงเครื่องหมาย ในสิ่งพิมพ์, วิทยุ, โทรทัศน์, สื่ออื่น

ห้าม ใช้ชื่อบุหรี่ ในการแสดง, การแข่งขัน, การให้บริการ (ยกเว้นสิ่งพิมพ์จากนอกราชอาณาจักร รายการถ่ายทอดสดจากต่างประเทศ) โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ห้ามโฆษณา สินค้าที่ใช้ชื่อบุหรี่เป็นเครื่องหมายของสินค้านั้น โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ห้ามผลิต นำเข้า โฆษณา สินค้าที่เลียนแบบบุหรี่หรือซองบุหรี่ โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า ต้องแจ้งรายการส่วนประกอบของบุหรี่ให้กระทรวงสาธารณสุข โทษฝ่าฝืน จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ผู้ผลิต หรือ ผู้นำเข้า ต้องแสดงฉลากที่ซองบุหรี่ตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ห้าม ผลิตบุหรี่ที่มิได้แสดงฉลากตามมาตรา (12) โทษฝ่าฝืน ปรับไม่เกิน 20,000 บาท